“ทารกพิการแต่กาเนิด” เพราะแม่ท้องขาด “โฟเลต”
11 October 2018, 4:00 pm

“ทารกพิการแต่กาเนิด” เพราะแม่ท้องขาด “โฟเลต”

                “ความพิการแต่กำเนิด” นอกจากสาเหตุจากพันธุกรรมแล้ว  ยังมาจาก  การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพออีกด้วย   นพ.กุลเสฏฐ ศักดิ์พิชัยสกุล นายแพทย์ประจำสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า “เด็กแรกเกิดในประเทศไทยจะประสบภาวะพิการแต่กำเนิดถึงร้อยละ 3 – 4 ไม่ว่าจะเป็นอาการดาวน์ซินโดรม โรคปากแหว่งเพดานโหว่ แขนขาพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะภาวะหลอดประสาทไม่ปิดที่มักทำให้เกิดความพิการทางร่างกายที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุของความพิการดังกล่าวเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน เช่น สาเหตุจากพันธุกรรม โรคประจำตัวของมารดาโดยเฉพาะโรคเบาหวาน สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ  สารเคมี อาหาร หรือยาบางชนิด ในระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงภาวะขาดสารอาหารที่จำเป็นขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะ โฟเลต หรือ วิตามินโฟลิก

               โฟเลตหรือวิตามินโฟลิก เป็นสารอาหารที่สำคัญในการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดของทารก นับตั้งแต่ช่วงเริ่มปฏิสนธิจนกลายเป็นตัวอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 28 วันแรก หลังจากปฏิสนธิ ที่เป็นช่วงของการสร้างระบบประสาท ทั้งสมองและกระดูกสันหลัง รวมถึงระบบอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย       การได้รับ

                โฟเลตที่ถูกต้อง จะต้องได้รับอย่างน้อย 1 ถึง 2 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ จึงจะสามารถป้องกันการพิการแต่กำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และควรรับประทานโฟเลตขนาด 400 ไมโครกรัม หรือวันละ 1 เม็ดต่อเนื่องกันเพื่อให้มีระดับโฟเลตภายในร่างกายอยู่ในระดับที่พอเหมาะต่อการเติบโตของตัวอ่อน รวมถึงต่อเนื่องไปถึงช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ด้วย ซึ่งจากผลวิจัยพบว่าการรับประทานโฟเลตก่อนตั้งครรภ์สามารถลดสาเหตุความพิการแต่กำเนิดจากภาวะหลอดประสาทไม่ปิดได้ถึงร้อยละ 70 ทั้งนี้ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตโฟเลตเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทาน ทั้งประเภทยา และอาหารทั่วไป พบมากในอาหารจำพวกตับ ผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ผักโขม ดอกกุยช่าย ผักกาดหอม และผลไม้สด นอกจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นตรวจสุขภาพและการตรวจหาความเสี่ยงทางพันธุกรรมต่างๆทั้งคุณพ่อและคุณแม่ รวมถึงการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ช่วยให้ทีมแพทย์สามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะพิการแต่กำเนิดได้อย่างดีที่สุดอีกด้วย ความพิการแต่กำเนิดมีทั้งแบบที่ป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ ทั้งนี้การป้องกันความพิการแต่กำหนดควรทำตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือทำโดยเร็วที่สุดเมื่อตั้งครรภ์ ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ความพิการที่สามารถป้องกันได้ ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์แม้จะป้องกันไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่

• ปากแหว่งเพดานโหว่ ชนิดที่ไม่มีความพิการของอวัยวะอื่นร่วมด้วย สถิติการเกิดในภาคใต้คิดเป็น 1.03 รายต่อพันการเกิดมีชีพ โดยภาพรวมทั้งประเทศของแต่ละปีจะอยู่ที่ 1.8-2 รายต่อพันการเกิดมีชีพ (สมาคมความพิการปากแหว่งเพดานโหว่, 2560)

• หลอดประสาทไม่ปิด (ไม่มีกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลังไม่ปิด) ชนิดไม่มีความพิการของอวัยวะอื่นร่วมด้วย สถิติการเกิดประมาณ 1 ใน 1,000 ของทารกแรกเกิด ป้องกันได้โดย กินโฟเลท 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลิกรัม) ต่อวัน ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 1 เดือนจนถึงตั้งครรภ์ครบ 3 เดือนแรก

 

 

เอกสารอ้างอิง

1.  สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย.โครงการดูแลสตรีตั้งครรภ์แนวใหม่ตามคาแนะนาขององค์การอนามัยโลกในบริบทประเทศไทย.พิมพ์ครั้งที่2. โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.2557

2.  ศูนย์อนามัยที่  9  นครราชสีมา  กรมอนามัย

3.  ศูนย์อนามัยที่  11 นครศรีธรรมราช  กรมอนามัย

4.  สมาคมความพิการปากแหว่งเพดานโหว่ , 2560